เกษตรฯ เตรียมความพร้อมเกษตรกรสู่มื ออาชีพ
ผลิตเมล็ดพันธุ์พืชไร่ใช้น้ำน้ อยปลูกช่วงแล้ง
กรมวิชาการเกษตร เสริมแกร่งเกษตรกรปั้นขึ้นแท่ นผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์มืออาชีพ รุดถ่ายทอดเทคโนโลยีผลิตเมล็ดพั นธุ์ 2 พืชไร่ใช้น้ำน้อยรองรับปรับเปลี่ ยนพื้นที่ปลูกข้าวไม่เหมาะสม นำร่องถั่วเขียวชัยนาท 3 และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลู กผสมนครสวรรค์ 5 ให้ผลผลิตสูง ทนแล้ง มีตลาดรองรับ ช่วยแก้ปัญหาเมล็ดพันธุ์ แพงและขาดแคลน
นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า จากกรณีเกษตรกรในเขตพื้นที่ ชลประทานปลูกข้าวอย่างต่อเนื่ องหรือปลูกมากกว่า 2 ครั้ง/ปี ทำให้บางพื้นที่ประสบปัญหาวิ กฤติขาดแคลนน้ำในการปลูกข้าว รวมทั้งการปลูกข้าวอย่างต่อเนื่ องยังส่งผลกระทบดินเสื่อมโทรม เกิดการระบาดของโรคและแมลงศัตรู ข้าว โดยที่ผ่านมากรมวิชาการเกษตรได้ ให้คำแนะนำเกษตรกรปรับเปลี่ ยนจากการปลูกข้าวเป็นการปลูกพื ชไร่ในฤดูแล้งเพื่อลดปริ มาณการใช้น้ำ โดยเน้นปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อยเมื่ อเทียบกับการปลูกข้าว มีอายุเก็บเกี่ยวสั้น และมีตลาดรองรับผลผลิตอย่างกว้ างขวาง เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และถั่วเขียว ซึ่งนอกจากจะใช้น้ำน้อยแล้วยั งสามารถเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ ของดินได้ด้วย
สถาบันวิจัยพืชไร่และพื ชทดแทนพลังงาน กรมวิชาการเกษตร ได้วางแผนการเตรียมความพร้อมด้ านเมล็ดพันธุ์ให้กับเกษตรกร โดยได้ดำเนินการพั ฒนาและขยายเครือข่ายผู้ผลิตเมล็ ดพันธุ์ถั่วเขียวและข้าวโพดเลี้ ยงสัตว์ลูกผสม เพื่อเป็นการกระจายเมล็ดพันธุ์ ดีสู่เกษตรกร ช่วยลดต้นทุนการผลิตด้านเมล็ดพั นธุ์ และเป็นการพัฒนาศักยภาพและเสริ มสร้างความเข้มแข็งให้กั บเกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกร ให้เป็นผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ได้ เองตรงตามคุณภาพมาตรฐานเมล็ดพั นธุ์เพื่อนำไว้ใช้เองหรือจำหน่ ายในชุมชน โดยคัดเลือกกลุ่มเกษตรกรที่มีศั กยภาพ จัดอบรมให้ความรู้ด้ านเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ และการตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์ โดยมีนักวิชาการเกษตรของกรมวิ ชาการเกษตรเป็นพี่เลี้ยงให้ คำแนะนำเพื่อพัฒนาให้เป็ นเกษตรกรผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์มื ออาชีพ
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ในปี 2565 การพัฒนาและขยายเครือข่ายผู้ ผลิตเมล็ดพันธุ์ได้ดำเนินการคั ดเลือกกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตเมล็ ดพันธุ์ถั่วเขียวเขียวพันธุ์ชั ยนาท 3 ซึ่งเป็นพันธุ์รับรองของกรมวิ ชาการเกษตร จำนวน 5 กลุ่ม ใน 5 จังหวัด ได้แก่ นครสวรรค์ พิจิตร เพชรบูรณ์ ลพบุรี และอำนาจเจริญ มีเกษตรกรทั้งหมด 48 ราย พื้นที่ดำเนินการ 235 ไร่ โดยเกษตรกรได้ดำเนินการปลูกถั่ วเขียวในฤดูแล้งแล้ว นอกจากนี้ยังมีกลุ่มเกษตรกรผู้ ผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียวในจั งหวัดอุทัยธานีอีก 1 กลุ่ม โดยจะเริ่มปลูกในเดือนเมษายน 2565 ซึ่งถั่วเขียวพันธุ์ชัยนาท 3 มีคุณสมบัติให้ผลผลิตสูง 232 กิโลกรัมต่อไร่ การสุกแก่ของฝั กสม่ำเสมอใกล้เคียงกัน มีขนาดเมล็ดใหญ่ เหมาะสำหรับการเพาะถั่วงอก การแปรรูปเป็นวุ้นเส้น สามารถปลูกได้ทุกภาคของประเทศ
นอกจากนี้ ยังได้พัฒนาเครือข่ายผู้ผลิ ตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ลูกผสมนครสวรรค์ 5 ซึ่งเป็นพันธุ์รับรองของกรมวิ ชาการเกษตร มีลักษณะเด่น คือ ทนแล้ง ผลผลิตสูง 1,176 กิโลกรัมต่อไร่ ต้านทานต่อโรคใบไหม้แผลใหญ่ และโรคใบด่างที่เกิดจากเชื้ อไวรัส เก็บเกี่ยวเร็วที่อายุ 95-100 วัน โดยได้ดำเนินการจัดอบรมถ่ ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพั นธุ์ข้าวโพดลูกผสมพันธุ์ นครสวรรค์ 5 และจัดทำแปลงต้นแบบการผลิตเมล็ ดพันธุ์ข้าวโพดลูกผสมในพื้นที่ จังหวัดนครสวรรค์ เพชรบูรณ์ พิษณุโลก และอุตรดิตถ์ โดยตั้งเป้าหมายให้สมาชิกภายกลุ่ มเกษตรกรนำร่องนำเทคโนโลยี การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ ยงสัตว์ลูกผสมนครสวรรค์ 5 ผลิตในพื้นที่ 100 ไร่ ภายใน 4 จังหวัดเป้าหมายดังกล่าว
“การดำเนินงานนี้ เป็นการบูรณาการงานวิจัยเพื่ อนำผลงานวิจัยจากต้นน้ำ เผยแพร่สู่การนำไปใช้ประโยชน์ ปลายน้ำ เป็นการเพิ่มช่องทางให้ เกษตรกรเข้าถึงพันธุ์ดีของกรมวิ ชาการเกษตร ซึ่งบางครั้งการจัดหาเมล็ดพันธุ์ ปลูกมักเป็นปัญหาสำหรั บเกษตรกรในบางพื้นที่ เช่นการขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ถั่ วเขียว หรือเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสั ตว์ลูกผสมมีราคาแพง ซึ่งการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิ ตเมล็ดพันธุ์ทั้งถั่วเขียวและข้ าวโพดเลี้ยงสัตว์ดังกล่ าวจะทำให้เกษตรกรมีเมล็ดพันธุ์ เพียงพอกับความต้องการ และช่วยลดต้นทุนการผลิตจากการซื้ อเมล็ดพันธุ์มาปลูกได้ เป็นการสร้างอาชีพและเพิ่ มรายได้ให้กับเกษตรกร มีความมั่นคง และยั่งยืนในการประกอบอาชีพต่ อไป” อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าว