เฮลั่น! อียูไฟเขียววิธีกำจัดแมลงวั นผลไม้ของไทย พืช 5 ชนิดได้ไปต่อ
กรมวิชาการเกษตร แจ้งข่าวดีรับสงกรานต์ สหภาพยุโรปยอมรับข้อเสนอวิธี กำจัดแมลงวันผลไม้ พริก มะเขือ มะละกอ ฝรั่ง และน้อยหน่า ของไทย หลังปรับกฎระเบียบนำเข้าใหม่ อธิบดีกรมวิชาการเกษตรลุ้นอนุมั ติทันประกาศใช้กฎใหม่ 11 เม.ย.65 เตรียมส่งหนังสือขอบคุ ณคณะกรรมาธิการยุโรปด้านสุ ขอนามัยและความปลอดภัยอาหาร รวมทั้งทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้ อง ช่วยส่งออก 5 พืชไทยไม่สะดุด
นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ตามที่สหภาพยุโรปมีการปรั บกฎระเบียบ Regulation ( EU) 2019/2072 ใหม่ กำหนดให้มีผลบังคับใช้เมื่อ 11 เมษายน 2565 ที่ผ่านมา ซึ่งกระทบต่อการส่งออกพืช 5 ชนิด จากประเทศไทยได้แก่ พริก มะเขือ มะละกอ ฝรั่ง และน้อยหน่า จากเดิมที่เน้นการตรวจศัตรูพื ชที่แปลงผลิต ที่โรงคัดบรรจุ และที่หน้าด่านตรวจพืชก่อนการส่ งออก แต่กฎระเบียบใหม่กำหนดให้ ประเทศไทยหรือทุกประเทศที่ไม่ ใช่สมาชิกของสหภาพยุโรปและมี รายงานการแพร่ระบาดของแมลงวั นผลไม้ในสกุล Bactrocera ชนิดที่สหภาพยุโรปกำหนด จะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบใหม่
กรมวิชาการเกษตรได้จัดประชุ มหารือเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลหน่ วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมอบหมายให้กลุ่มวิจัยการกั กกันพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช รีบจัดทำข้อมูลเสนอให้ คณะกรรมาธิการยุโรปด้านสุขอนามั ยและความปลอดภัยอาหาร (DG SANTE ) พิจารณาพร้อมเร่งประสานกั บสหภาพยุโรป โดยวิธีการที่ประเทศไทยเลือกคือ พืช 4 ชนิดได้แก่ พริก มะเขือ น้อยหน่า และฝรั่ง เสนอใช้วิธีการ Systems approach for pest risk management of fruit flies (Tephritidae) โดยบริหารจัดการตั้งแต่ในสวน การขนส่งจากแปลงไปโรงคัดบรรจุ และการบริหารจัดการในโรงคั ดบรรจุ รวมทั้งการรับรองสุขอนามัยพืชก่ อนการส่งอออก ส่วนมะละกอ เสนอใช้วิธีการเก็บเกี่ยวที่ ระยะเวลา 90-120.วัน หลังดอกบาน มะละกอสุกจะต้อง ผ่านการแช่น้ำร้อนหรือผ่ านการอบไอน้ำปรับสภาพความชื้นสั มพัทธ์ก่อนการส่งออก
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ภายหลังจากที่ได้ลงนามในหนังสื อแจ้งให้ DG SANTE พิจารณาเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2565 ได้มีการประสานงานกับสำนักที่ ปรึกษาการเกษตรประจำกรุงบรั สเซลส์มาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ ทันต่อระยะเวลาที่กฎระเบียบจะมี ผลบังคับใช้ โดยได้รับแจ้งข่าวดีในวันที่ 11 เมษายน 2565 ว่าสหภาพยุโรปรับพิจารณาข้อมู ลของประเทศไทยแล้ว ส่งผลให้เกษตรกร ผู้ส่งออก สามารถส่งออกพืชทั้ง 5 ชนิดได้อย่างต่อเนื่องภายใต้เงื่ อนไขที่กรมวิชาการเกษตรกำหนด และขอขอบคุณ DG SANTE ที่พิจารณาข้อมู ลจากประเทศไทยอย่างรวดเร็ว รวมทั้งทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้ อง อย่างไรก็ตามหลังจากนี้ ประเทศไทยจะต้องดำเนินการส่ งออกพืชทั้ง 5 ชนิด ให้เป็นไปตามแนวทางที่ได้ เสนอไว้ตามมาตรฐานสากลด้านกักกั นพืชและสอดคล้องกับระเบี ยบของประเทศปลายทางผู้นำเข้า โดยในปี 2564ที่ผ่านมามีการส่งออกพืชทั้ ง 5 ชนิดไปสหภาพยุโรปปริมาณ 620 ตัน คิดเป็นมูลค่า 23.25 ล้านบาท