องค์การกำจัดน้ำเสีย ทุ่มงบ 251 ล้านบาท แก้น้ำเสียเทศบาลนคร
ดร.เปรมฤดี ชามพูนท นายกเทศมนตรีนครพิษณุโลก เปิดเผยว่า ในปีงบประมาณ 2565 องค์การกำจัดน้ำเสีย(อจน.) กระทรวงมหาดไทย ได้จัดสรรงบประมาณจำนวน 251,000,000 บาท เพื่อปรับปรุงระบบบำบัดน้ำเสียของเทศบาลนครพิษณุโลก ซึ่งมีสถานีบำบัดจำนวน 6 สถานี PS STATION (PS) เพื่อแก้ปัญหาน้ำเสียภายในเขตเทศบาลนคร ให้สามารถใช้งานได้ และปลายทางน้ำจะไหลไปสู่สถานีบำบัดน้ำเสียบ้านหนองอีเฒ่า ตำบลวังพิกุล อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก
ดร.เปรมฤดี ชามพูนท การที่องค์การกำจัดน้ำเสีย(อจน.) มาบริหารจัดการน้ำเสียของเทศบาลนครพิษณุโลก ต้องยอมรับว่าบุคลากรของเรา ความรู้ความชำนาญการไม่พอ อีกอย่างงบประมาณในการดูแลซ่อมแซมเครื่องกำจัดน้ำเสียของเทศบาลนคร ไม่มีงบประมาณเพียงพอ จึงได้ตกลงกันว่าจะให้องค์การกำจัดน้ำ เสียมาเป็นผู้บริหารจัดการน้ำเสียของเทศบาลนครพิษณุโลก โดยที่ อจน.มีงบประมาณส่วนหนึ่งประมาณ 251,000,000 บาท ที่เข้ามาดูแลซ่อมแซมปรับปรุงให้การจัดการน้ำเสียเทศบาลสมบูรณ์มากขึ้น เป็นผู้บริหารน้ำเสียของเทศบาลทั้งหมด ขณะนี้งบประมาณได้มาเรียบร้อยแล้ว
“ทั้งนี้ สถานีบำบัดทั้ง 6 สถานีในฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน่าน รวมทั้งท่อระบายน้ำไปสู่หนองอีเฒ่า ตำบลวังพิกุล อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งเป็นบ่อบำบัดน้ำเสียเทศบาลนครพิษณุโลก ระบบบำบัดแบบบ่อผึ่ง มีพื้นที่ประมาณ 300 ไร่ ใช้หลักการน้ำไหลล้นตกตะกอน โดยมีบ่อผึ่งจำนวน 6 บ่อ มีบ่อลึกตกตะกอน (เศษตะกอนหนัก) และบ่อตื้น สำหรับให้แสงส่องลงถึงพื้นบ่อได้ เพื่อฆ่าเชื้อโรค เป็นลักษณะการบำบัดโดยธรรมชาติ และเมื่อน้ำเสียไหลผ่านบ่อผึ่งครบจำนวน 6 บ่อ จะไหลลงสู่คลองสาธารณะ ซึ่งประชาชนสามารถนำน้ำไปใช้ประโยชน์ในการเกษตรต่อไป” ดร.เปรมฤดี กล่าว
ด้านนายชัยชนะ มีศิริ ผู้อำนวยการสำนักการช่าง เทศบาลนครพิษณุโลก กล่าวว่า ระบบบำบัดน้ำเสียของเทศบาลนครพิษณุโลกเป็นโครงการต่อเนื่อง มาจาก รับโอนมาจากกรมโยธาธิการและผังเมือง ซึ่งเป็นช่วงที่ รับมาโครงการนี้สร้างมานานแล้ว ทำให้เครื่องจักร ปั๊มน้ำต่างๆอาจจะเก่า สามารถทำได้ในระดับหนึ่งอาจจะเกิดปัญหาบ้างในทางปฏิบัติทาง นายกเทศมนตรี มีนโยบายว่า จะให้ องค์การกำจัดน้ำเสีย เป็นมืออาชีพช่วยระบบบำบัดน้ำเสียให้กับเทศบาล อจน. สามารถของบประมาณจากส่วนกลาง เพื่อที่จะบำบัดน้ำเสีย แก้ไขปัญหาเรื่องระบบบำบัดเดิมที่เรามีอยู่ในปัจจุบัน ให้ดีขึ้น เป็นการทำข้อตกลงร่วมกันระหว่างเทศบาลกับ อจน.จะเริ่มเข้ามาดำเนินการร่วมกัน ของบประมาณจากส่วนกลาง ทำการปรับปรุงเครื่องมือรวมทั้งระบบน้ำ ระบบรวบรวมน้ำทั้งหมดที่มีอยู่ให้สามารถใช้งานได้ ปรับปรุงเครื่องจักร เครื่องมือให้มีประสิทธิภาพ กินไฟน้อยลง เพราะเครื่องมือเก่ามากแล้ว อจน.จะได้รับงบมาจากส่วนกลางมาพัฒนา 251,000, 000 บาท ในปี 2564 ได้รับงบมา 50 ล้านบาท และงบผูกพันระหว่างปี 2565 – 2567 อีกปีละกว่า 60 ล้านบาท จะดำเนินการแก้ไขปรับปรุงระบบน้ำเสียฝั่งทิศตะวันออกให้ใหม่สามารถใช้งานนอกจากนั้น องค์การกำจัดน้ำเสีย จะดำเนินการติดตั้งวางท่อรวบรวมระบบน้ำเสียฝั่งทิศตะวันตก ของแม่น้ำน่านอีกด้วย
ปรีชา นุตจรัส รายงานข่าวพิษณุโลก