กรมฝนหลวงฯ ลุยทำฝนต่อเนื่องไม่เว้นวันหยุ ดราชการ ช่วยพื้นที่เกษตรและเติมน้ำต้ นทุนให้เขื่อน
กรมฝนหลวงและการบินเกษตร เฝ้าติดตามสถานการณ์ สภาพอากาศอย่างใกล้ชิด เพื่อเตรียมความพร้อมออกปฏิบัติ การฝนหลวงได้ทันที หากสภาพอากาศเหมาะสม เพื่อช่วยเหลือพื้นที่เกษตรให้ มีน้ำเพียงพอสำหรับการเพาะปลู กและเติมน้ำต้นทุนให้กับเขื่ อนและอ่างเก็บน้ำต่างๆ ที่ยังมีปริมาณน้ำต้นทุนน้อยอยู่ ขณะนี้ เนื่องจากปีนี้ฝนน้อยกว่าทุกปี
นายสุรสีห์ กิตติมณฑล อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร เปิดเผยว่า กรมฝนหลวงและการบินเกษตรร่วมกั บกองทัพอากาศ กองทัพบก ได้สนับสนุนอากาศยานและกำลังพล ร่วมปฏิบัติการฝนหลวงในปี 2564 ใน 2 ภารกิจหลัก คือ การบรรเทาภัยแล้งในพื้นที่ที่มี ปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่ อการทำการเกษตร และเติมน้ำต้นทุนให้กับลุ่มรั บน้ำเขื่อนและอ่างเก็บน้ำต่างๆ เพื่อช่วยเหลือพี่น้ องประชาชนโดยไม่มีวันหยุดราชการ และไม่มีวันหยุดนักขัตฤกษ์ โดยในขณะนี้เข้าสู่ช่วงกลางฤดู ฝนแล้วแต่จะเห็นได้ว่าปริ มาณฝนในเชิงปริ มาณและการกระจายตัวของฝนถือว่ าไม่ค่อยดีนัก เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่ านมาจะมีร่องมรสุมหรือร่ องความกดอากาศต่ำพาดผ่ านมาจากบริเวณภาคเหนือไล่ลงไปสู่ ภาคใต้ ซึ่งทำให้เกิดปริมาณฝนกระจายตั วค่อนข้างมาก แต่ในปีนี้จะเห็นได้ว่าร่องมรสุ มดังกล่าวแทบจะไม่ปรากฏว่าพาดผ่ านเข้ามาในประเทศไทย จึงทำให้หลายพื้นที่มีปริ มาณฝนน้อยกว่า 10 มิลลิเมตร ประชาชนประสบปัญหาพื้นที่ การเกษตรมีปริมาณน้ำไม่เพียงพอ โดยเฉพาภาคเหนือตอนบนถึงตอนล่าง ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ภาคตะวันออกเฉียงเหนื อตอนกลางและตอนล่าง รวมถึงพื้นที่ภาคใต้ก็ยั งประสบปัญหาน้ำฝนน้อยเช่นเดี ยวกัน
ขณะที่แหล่งน้ำขนาดใหญ่ที่มีปริ มาณน้ำใช้การน้อยกว่า 30% มีจำนวน 16 แห่ง และแหล่งน้ำขนาดกลางอีก 98 แห่งกระจายอยู่ทั่วประเทศ ส่งผลให้ขณะนี้มีการขอรับบริ การฝนหลวงรวม 686 แห่ง ครอบคลุม 48 จังหวัด 362 อำเภอ ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ภาคตะวั นออกเฉียงเหนือ ซึ่งกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ได้ติดตามสถานการณ์สภาพอากาศ ข้อมูลปริมาณน้ำฝน รวมทั้งความชื้นในดิน ปริมาณน้ำในแหล่งน้ำต่างๆ และข้อมูลการขอรับบริ การฝนหลวงมาวิเคราะห์ปรับแผนให้ สอดคล้องในการปฏิบัติ การฝนหลวงช่วยเหลือพื้นที่ การเกษตร การเติมน้ำต้นทุนให้กับเขื่ อนและอ่างเก็บน้ำ ให้ได้มีปริมาณน้ำมากที่สุด เพื่อให้ประชาชนได้มีน้ำต้นทุ นไว้สำรองใช้ในฤดูแล้งต่อไป
สำหรับผลการปฏิบัติ การฝนหลวงในช่วงสัปดาห์ที่ผ่ านมา (2-6 ส.ค.64) ได้ขึ้นบินปฏิบัติการฝนหลวงต่ อเนื่อง ทำให้มีฝนตกบริเวณพื้นที่ การเกษตรบางส่วนของจังหวั ดกำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ อ่างทอง สระบุรี ลพบุรี อุทัยธานี นครสวรรค์ พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี สกลนคร นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด ยโสธร สระแก้ว เพิ่มปริมาณน้ำให้พื้นที่ลุ่มรั บน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ อ่างเก็บน้ำมวกเหล็ก อ่างเก็บน้ำห้วยยาง อ่างเก็บน้ำห้วยใหญ่ อ่างเก็บน้ำห้วยใหญ่(วังแขม) อ่างเก็บน้ำซับตะเคียน อ่างเก็บน้ำห้วยนา อ่างเก็บน้ำห้วยป่าแดง อ่างเก็บน้ำป่าเลา และบึงบอระเพ็ด เป็นต้น
“กรมฝนหลวงและการบินเกษตร วางแผนปฏิบัติการฝนหลวงทุกวั นไม่เว้นวันหยุดราชการหรือวั นหยุดนักขัตฤกษ์ โดยทั้ง 13 หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงกระจายอยู่ ทุกภูมิภาคยังคงปฏิบัติงานเฝ้ าติดตามสภาพอากาศตลอดเวลา หากสภาพอากาศเอื้อต่อการปฏิบัติ การฝนหลวงก็พร้อมขึ้นบินปฏิบัติ การทันที เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กั บประชาชนและช่วยภารกิจเติมน้ำต้ นทุนให้กับเขื่อนต่างๆ ให้ได้มากที่สุด อย่างไรก็ตาม ขอให้ประชาชนมีการใช้น้ำอย่ างประหยัดอย่างต่อเนื่อง ส่วนเกษตรกรควรประสานงานกับเจ้ าหน้าที่กรมชลประทานเพื่อบริ หารจัดการน้ำร่วมกัน เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำให้ เกิดประโยชน์สูงสุดและช่ วยลดความเสี่ยงต่อความเสียหายที่ จะเกิดขึ้นกับผลผลิต” นายสุรสีห์ กล่าวทิ้งท้าย
ทั้งนี้ เกษตรกรและประชาชน สามารถขอรับบริการฝนหลวงและติ
…