จับตา “กรรมการสภามหาวิทยาลัย” กับการ สรรหา”อธิการบดี”มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร ที่จะตัดสินใจเลือก หรือจะคำนึงถึงเสียงสะท้อนประชาคม
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการที่ ผศ.ปรีชา ธรรมวินธร อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร ได้ครบกำหนดวาระ ในวันที่ 1 ก.ค.2564 จึงได้มีการสรรหา อธิการบดี หรือผู้ผู้บริหารใหม่ นั้น โดยเมื่อวันที่ 23 มิย.2564 ที่ผ่านมา ได้มีการเปิดให้มีการแสดงวิสัยทัศน์ของผู้ที่เข้ารับการสรรหา จำนวน 4 ราย
ตามรายชื่อ รศ.ดร.จิตติ กิตติเลิศไพศาล, ผศ.ชาคริต ชาญชิตปรีชา อายุ 56 ปี (รองอธิการบดีคนปัจจุบัน).ผศ.ดร.ฟ้าประทาน เติมขุนทศ,และผศ.ดร.วัฒนา สุวรรณไตร,อายุ 71 ปี( อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร) หลังจากที่ ได้มี แสดงวิสัยทัศน์ แล้วทำให้เกิดความคึกคักในกลุ่มข้าราชการการวิจารณ์ ว่าการพัฒนามหาวิทยาลัยจะเป็นไปในทิศทางใด เมื่อหากมีผลของการสรรหาออกมา
ทั้งนี้ผู้เข้าร่วมการสรรหาเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร ได้มีการให้กรรมการสภามหาวิทยาลัยตัดสินใจเลือก ซึ่งจะมีการประชุมในวันศุกร์ ที่ 25 มิ.ย.64 “การตัดสินใจ เลือกผู้เข้ารับการสรรหา ที่จะเข้ามาเป็นอธิการบดี นั้นที่สำคัญจะเป็นคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร เมื่อวิธีการ ได้มาซึ่งอธิการมหาวิทยาลัยฯ คือจากการสรรหา และมีการจัดทำประชาคม ดังนั้นจึงเป็นที่สนใจของประชาชนทั่วไป และคณาจารย์ และข้าราชการผู้น้อยใน ม.ราชภัฎสกลนคร ให้จับตาดูว่า การตัดสินในของ กรรมการสภามหาวิทยาลัย ราชภัฎสกลนคร จะตัดสินใจเลือกหรือคำนึงถึงเสียงสะท้อนประชาคม ย่อมจะรู้จักดีว่าบุคคลเช่นไร ที่จะนำพาองค์กรสถาบันนี้ไปสู่การเปลี่ยนแปลงในมิติใหม่ๆไม่ซ้ำรอยเดิม เหมือนกรรมการเก่าๆที่ผ่านมา “.การผลัดกันเกาหลัง..นอกจากจะหลังลายไม่หายคันแล้วแผลที่อาจเกิดยิ่งรักษาลำบากกลายเป็นมะเร็งร้ายของสังคม..และคำที่ว่ามหาวิทยาลัยแห่งการให้โอกาส จะกลายเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการปิดกั้น. ดังนั้นการรับฟัง คนรุ่นใหม่ๆก็ดี แต่ไม่ใช่ ไม่รับคนรุ่นเก่า เพียงแต่อยากให้สมกับคำที่ว่า มหาวิทยาลัยแห่งการให้โอกาส การผลัดกันเก่าหลัง หมายถึงเพื่อการเข้ามาดูแลในส่วนต่างๆ ตลอดจนการเปลี่ยน ต้องเกิด และจะต้องกระจ่าง เมื่อไม่ฟังเสียงสะท้อนจากประชาคม ที่หมายถึงคนในพื้นถิ่น การบริหารจะเดินไปได้อย่างไร?”อดีตกรรมการฯในมหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร คนหนึ่งกล่าว
ทีมข่าวภาสนาม ….