ฝนหลวงฯ เร่งสลายลูกเห็บพื้นที่ จ.ลำปาง สำเร็จยับยั้งความเสียหายต่อพื้นที่การเกษตรและบ้านเรือนประชาชน

ฝนหลวงฯ เร่งสลายลูกเห็บพื้นที่ จ.ลำปาง สำเร็จยับยั้งความเสียหายต่อพื้นที่การเกษตรและบ้านเรือนประชาชน

 

วันที่ 9 พฤษภาคม 2564 นางนรีลักษณ์ วรรณสาย รองอธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ด้านบริหาร เปิดเผยว่า ในช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมาประเทศไทยมีฝนตกปริมาณพอสมควรเนื่องจากได้รับอิทธิพลจากพายุฤดูร้อน แต่ยังคงมีบางพื้นที่ที่ยังไม่ได้รับปริมาณน้ำเพียงพอ ทั้งพื้นที่การเกษตรที่เข้าสู่ช่วงฤดูเพาะปลูกหรือพืชที่อยู่ในช่วงติดผลและยังคงต้องการน้ำในปริมาณที่มากพอสมควรและสม่ำเสมอ ตลอดจนเขื่อนและอ่างเก็บน้ำต่าง ๆ ที่ยังมีปริมาณน้ำกักเก็บน้อยอยู่หลายแห่ง ทางกรมฝนหลวงและการบินเกษตรจึงยังคงปฏิบัติการฝนหลวงอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564


อย่างไรก็ตามวานนี้(8 พ.ค.64) มีการตรวจพบว่าบริเวณพื้นที่ภาคเหนือโดยเฉพาะ อ.เมือง และ อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง มีแนวโน้มที่จะเกิดพายุลูกเห็บที่สามารถสร้างความเสียหายให้กับพื้นที่การเกษตรและบ้านเรือนของประชาชนได้  หน่วยปฏิบัติการฯ จ.พิษณุโลก ได้มีการขึ้นบินปฏิบัติการ จำนวน 3 ภารกิจ คือ ปฏิบัติการเมฆอุ่น เมฆเย็น และสลายลูกเห็บ สามารถสลายและยับยั้งการเกิดพายุลูกเห็บได้ทำให้มีฝนตกในบริเวณพื้นที่ดังกล่าวแทน ซึ่งวัดประมาณน้ำได้ 3.5 – 31.8 มม. และสามารถช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรและเติมน้ำเขื่อนในพื้นที่เป้าหมายได้สำเร็จ ส่วนการคาดการณ์สภาพอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยาระบุว่า สภาพอากาศปีนี้คล้ายคลึงกับสถานการณ์ในปี 2551 ปริมาณฝนสะสมทั้งประเทศมีค่าสูงกว่าปกติ โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคกลางตอนบน ในช่วงครึ่งเดือนแรกของเดือน ก.ค. ปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง ตั้งแต่กลางเดือน ก.ค.-ก.ย.64 จะมีฝนชุกหนาแน่น และคาดว่าช่วงเดือน ส.ค.-ก.ย.64 มีโอกาสเกิดพายุเคลื่อนตัวผ่านประเทศไทย จำนวน 2-3 ลูก จึงอยากเตือนให้ประชาชนที่อยู่บริเวณภาคเหนือและภาคกลางโดยเฉพาะ จ.สระบุรี เชียงราย สุโขทัย และ จ.ตาก เตรียมพร้อมและเฝ้าระวังน้ำหลากและดินโคลนถล่มในพื้นที่ดังกล่าว โดยกรมฝนหลวงและการบินเกษตร จะมีการปฏิบัติภารกิจด้วยความระมัดระวังและจะไม่มีการปฏิบัติการในพื้นที่ที่อยู่ในระหว่างการเก็บเกี่ยวและมีฝนตกเพียงพอ

สำหรับการติดตามสภาพอากาศในช่วงเช้าวันนี้ พบว่า ผลการตรวจสภาพอากาศ มีหน่วยปฏิบัติการฝนหลวง จ.อุดรธานี เข้าเงื่อนไขการปฏิบัติการฝนหลวง โดยมีพื้นที่เป้าหมาย คือ พื้นที่การเกษตร จ.สกลนคร จ.กาฬสินธุ์ พื้นที่ลุ่มรับน้ำเขื่อนน้ำชุมและเขื่อนลำปาว และมีหน่วยปฏิบัติการ จ.อุบลราชธานี และ จ.สุราษฎร์ธานี ไม่สามารถขึ้นบินปฏิบัติการได้เนื่องจากมีการตรวจซ่อมบำรุงเครื่องบินประจำสัปดาห์ อย่างไรก็ตามหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงอีก 10