“เฉลิมชัย”สั่งกรมชลประทานพร้อมรับสถานการณ์น้ำฤดูฝนเริ่มในสัปดาห์หน้า ลั่นประชาชนได้รับผลกระทบจากโควิด-19 อยู่แล้ว ต้องไม่ให้เกิดปัญหาน้ำท่วม-น้ำแล้งซ้ำเติม

“เฉลิมชัย”สั่งกรมชลประทานพร้อมรับสถานการณ์น้ำฤดูฝนเริ่มในสัปดาห์หน้า

ลั่นประชาชนได้รับผลกระทบจากโควิด-19 อยู่แล้ว ต้องไม่ให้เกิดปัญหาน้ำท่วม-น้ำแล้งซ้ำเติม

 

 

นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  มอบนโยบายแก่ผู้บริหารกรมชลประทานผ่านระบบวีดิโอคอนเฟอร์เรนซ์ว่า ในสัปดาห์หน้า กรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์จะเข้าสู่ฤดูฝนอย่างเป็นทางการ จึงขอให้กรมชลประทานวางแผนบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องกับภูมิประเทศและภูมิอากาศ นำข้อมูลพื้นที่เสี่ยงน้ำหลากทั่วประเทศมาวางแผนแก้ปัญหา เตรียมเครื่องจักร-เครื่องมือให้พร้อมปฏิบัติการ 24 ชั่วโมงซึ่งในการบริหารจัดการน้ำฤดูฝนจะต้องคำนึงถึงการกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้งด้วยเพราะ “ฝน” เป็นแหล่งกำเนิดน้ำสำคัญ ปริมาณฝนที่ตกในประเทศไทยเพียงพอใช้ตลอดทั้งปี แต่ที่ผ่านมา เกิดภัยแล้งเพราะพื้นที่เก็บกักน้ำมีน้อย รัฐบาลจึงให้ความสำคัญต่อการเพิ่มพื้นที่เก็บน้ำ ทั้งการสร้างแหล่งเก็บน้ำใหม่และขยายแหล่งเก็บน้ำเดิม ตลอดจนเพิ่มแหล่งน้ำในไร่นา

นายเฉลิมชัย บอกด้วยว่า ประชาชนได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลกอยู่แล้ว ดังนั้นต้องช่วยกันไม่ให้ได้รับความเดือดร้อนจากภาวะน้ำท่วม-น้ำแล้งซ้ำเติม นอกจากนี้โควิด-19 ยังทำให้ภาคส่วนต่างๆ ต้องหยุดชะงัก แต่ภาคการเกษตรของไทยยังสามารถสร้างรายได้เข้าประเทศ จากการส่งออกสินค้าเกษตร ดังนั้นจึงต้องมีน้ำเพียงพอต่อการทำเกษตรกรรม และเมื่อสถานการณ์การระบาดคลี่คลาย ภาคการเกษตรจะมีความสำคัญต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ดังนั้นกรมชลประทานต้องบริหารจัดการให้มีน้ำสนับสนุนการเกษตรอย่างเพียงพอ

ทั้งนี้กรมชลประทานรายงานว่า เริ่มต้นการจัดสรรน้ำในช่วงฤดูฝนตั้งแต่ ขวันที่ 1 พ.ค. โดยอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั้งประเทศมีปริมาณน้ำรวมกัน 36,442 ล้าน ลบ.ม. สามารถรองรับน้ำรวมกันได้อีกประมาณ 39,626 ล้าน ลบ.ม. เฉพาะลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลัก (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) มีปริมาณน้ำรวมกัน 8,961 ล้าน ลบ.ม. มีน้ำใช้การได้ประมาณ 2,265 ล้าน ลบ.ม. สามารถรองรับน้ำรวมกันได้อีกประมาณ 15,910 ล้าน ลบ.ม.

สำหรับการจัดสรรน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคและรักษาระบบนิเวศ การส่งเสริมการปลูกพืชฤดูฝนโดยใช้น้ำฝนเป็นหลักหลังกรมอุตุนิยมวิทยาประกาศเข้าสู่ฤดูฝนอย่างเป็นทางการและมีฝนตกในพื้นที่สม่ำเสมอ รวมทั้งการบริหารจัดการน้ำท่าให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ควบคู่ไปกับการกักเก็บน้ำไว้ในเขื่อนหรือแหล่งน้ำธรรมชาติให้ได้มากที่สุด

นอกจากนี้ ยังได้กำหนดพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย กำหนดคน และกำหนดเครื่องจักรเครื่องมือกว่า 5,935 หน่วย เตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์น้ำที่อาจจะเกิดขึ้น พร้อมกำชับไปยังโครงการชลประทานทั่วประเทศ ตรวจสอบสภาพความมั่นคงของเขื่อนขนาดใหญ่และขนาดกลาง 437 แห่ง และอาคารชลประทานทั่วประเทศอีก 1,806 แห่ง ให้สามารถใช้งานได้อย่างเต็มศักยภาพ รวมทั้งสำรวจสิ่งกีดขวางทาง และการกำจัดวัชพืชในแม่น้ำสายหลักและคูคลองต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ การบริหารจัดการน้ำในอ่างเก็บน้ำให้อยู่ในเกณฑ์เก็บกัก (RULE CURVE) โดยพิจารณาปรับลดการระบายให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ในแต่ละช่วงเวลาเพื่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนน้อยที่สุด

You May Have Missed!

1 Minute
ข่าวประชาสัมพันธ์
“ทีเส็บ วีซ่า” ชวนสัมผัสมนต์เสน่ห์ไมซ์เหนือระดับ  พร้อมสิทธิประโยชน์-ประสบการณ์สุดพิเศษในไทย ผ่านบัตร “Thailand MICE Visa Prepaid Card” เพียงใบเดียว
0 Minutes
ข่าวประชาสัมพันธ์
กิ่งกาชาดอำเภอแม่สายตั้งโรงครัว เตรียมอาหารและน้ำดื่ม ให้ประชาชนผู้ได้รับความเดือดร้อนพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม และเจ้าหน้าที่ ผู้ปฏิบัติงานจากหน่วยงานต่างๆ ช่วยเหลือประชาชน
0 Minutes
สังคม
พบปะสังสรรค์ และพูดคุยหารือเรื่องข้อกฎหมาย 
1 Minute
ข่าวประชาสัมพันธ์
องคมนตรี มอบรางวัล THAILAND MORAL AWARDS 2023 เชิดชูเกียรติ สื่อ บุคคล ชุมชนและองค์กร ที่สร้างแรงกระตุ้นและแรงบันดาลใจให้ทุกภาคส่วนของสังคม ย้ำเป็นก้าวสำคัญให้คนไทยตระหนักถึงการทำความดีว่าเป็นสิ่งที่ทำได้จริง และสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมได้เป็นรูปธรรม