โลตัสปูพรมสนับสนุนโรงพยาบาลสนามและชุมชนทั่วประเทศรับมือโควิด-19
บริจาคอาหารและของใช้ที่จำเป็นแล้วเกือบ 200 แห่ง
โลตัส เดินหน้าให้การสนับสนุนหน่วยงานสาธารณสุขและชุมชนทั่วประเทศอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกล่าสุด โดยมอบน้ำดื่ม อาหารแห้ง และอุปกรณ์ที่จำเป็น อาทิ หน้ากากอนามัย ถุงมือยาง เจลแอลกอฮอล์ โดยตั้งแต่วันที่ 9 –19 เมษายน พ.ศ. 2564 ได้บริจาคอาหารและสิ่งของที่จำเป็นให้กับหน่วยงานและชุมชนเกือบ 200 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลสนาม 13 แห่ง โรงพยาบาล 33 แห่ง ด่านคัดกรองและด่านตรวจ 138 แห่ง รวมถึงชุมชนใกล้เคียงสาขา
นายสมพงษ์ รุ่งนิรัตติศัย ประธานคณะผู้บริหาร ธุรกิจโลตัส ประเทศไทย กล่าวว่า “ตั้งแต่การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เริ่มต้น โลตัสได้ตั้งพันธกิจของเราเอาไว้ 3 ข้อ คือ หนึ่ง ดูแลสุขภาพและความปลอดภัยของลูกค้าและเพื่อนพนักงาน สอง มีสินค้าเพียงพอต่อความต้องการ จำหน่ายในราคายุติธรรม และสาม สนับสนุนชุมชนที่ได้รับผลกระทบ ท่ามกลางการระบาดของโรคโควิด-19 ในระลอกล่าสุดที่มีความรุนแรงกว่าที่ผ่านมา มีจำนวนผู้ติดเชื้อจำนวนมาก ทำให้ในหลายจังหวัดมีการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามขึ้นเพื่อรองรับจำนวนผู้ป่วย โลตัสได้บริจาคอาหารและของใช้ที่จำเป็นให้กับโรงพยาบาลสนามจำนวน 13 แห่ง กล่าวคือ โรงพยาบาลสนาม จังหวัดภูเก็ต, โรงพยาบาลสนามเชียงใหม่ ศูนย์ประชุมนานาชาติ 700 ปี, โรงพยาลาลสนามจอมทองและโรงพยาบาลสนามอำเภอฝางจังหวัดเชียงใหม่, โรงพยาบาลสนามขอนแก่น, โรงพยาบาลสนามค่ายธนรัตน์, โรงพยาบาลสนามโคราช, โรงพยาบาลสนามพิษณุโลก, โรงพยาบาลสนามอุบลราชธานี, โรงพบาบาลสนามระยอง, โรงพยาบาลสนามอุดรธานี, โรงพยาบาลสนามสมุทรปราการ และ โรงพยาบาลสนามมหาวิทยาลัยพะเยา เราจะเดินหน้าขยายการสนับสนุนเพิ่มเติมในจังหวัดอื่น ๆ ที่มีการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามขึ้นในอนาคต เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วย สามารถเข้าถึงน้ำดื่ม อาหารแห้ง ของใช้ และอุปกรณ์ป้องกันที่จำเป็นต่อไป นอกเหนือจากโรงพยาบาลสนามแล้ว โลตัส ยังได้บริจาคน้ำดื่มและของใช้ต่าง ๆ ให้กับโรงพยาบาลอีก 33 แห่ง และศูนย์คัดกรองและด่านตรวจ 138 แห่ง”
“เรามุ่งมั่นที่จะให้การสนับสนุนผู้ที่ได้รับผลกระทบต่อไป นอกเหนือจากการบริจาคสิ่งของที่จำเป็นให้กับโรงพยาบาลและชุมชนแล้ว ยังมีการช่วยเหลือในรูปแบบอื่น ๆ อาทิ สนับสนุนผู้ประกอบการรายย่อยและเกษตรกรด้วยการรับซื้อสินค้ามาจำหน่ายในสาขา การให้ทุนประกอบอาชีพกับกลุ่มเปราะบาง อาทิ แม่เลี้ยงเดี่ยว เป็นต้น”
ส่วนมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทั้งในสาขา ศูนย์กระจายสินค้า และสำนักงาน มีดังนี้
มาตรการในสาขา
- ปรับเวลาเปิดทำการตามนโยบายภาครัฐ
- ตรวจคัดกรองอย่างเคร่งครัดที่บริเวณทางเข้าสาขาทุกจุด โดยลูกค้าทุกท่านต้องสวมหน้ากากและวัดอุณหภูมิ พร้อมทั้งลงทะเบียนไทยชนะ ก่อนเข้าใช้บริการ
- ตรวจวัดอุณหภูมิพนักงานและเจ้าหน้าที่ที่เข้ามาปฏิบัติก่อนเข้าพื้นที่ทุกครั้ง พนักงานที่มีอาการป่วยต้องหยุดงานและพบแพทย์
- รักษามาตรฐานคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้า ให้ปราศจากการปนเปื้อน
- มีถุงมือพลาสติกให้บริการลูกค้าในแผนกอาหารสด
- ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อพื้นผิวทุกบริเวณเป็นประจำทุก ๆ 2 ชั่วโมง อาทิ เคาน์เตอร์แคชเชียร์ ราวจับบันไดเลื่อน ปุ่มกดลิฟต์ รถเข็นและตะกร้าช้อปปิ้ง บัตรศูนย์อาหารและบัตรจอดรถ (ทุกครั้งหลังการใช้) รวมถึงห้องน้ำ
- สาขาที่มีการรายงานไทม์ไลน์ของผู้ติดเชื้อ ปิดบริการชั่วคราวเพื่อความสะอาดและอบละอองฆ่าเชื้อ เพื่อนพนักงานที่มีความเสี่ยงให้หยุดงานเพื่อกักตัวและตรวจโรคตามคำแนะนำของแพทย์
มาตรการในศูนย์กระจายสินค้า
- มาตรการคัดกรองเข้มงวด สวมหน้ากาก วัดอุณหภูมิ เว้นระยะห่าง ล้างมือ ลงทะเบียนไทยชนะ
- มีพยาบาลเพื่อดูแล และให้ความรู้พนักงาน รวมทั้งตรวจเยี่ยมถึงที่พัก
- เพิ่มจำนวนรถรับส่งพนักงานเพื่อควบคุมระยะห่าง พนักงานขับรถจะต้องทำความสะอาดรถทุกครั้งหลังการรับ-ส่งพนักงาน และพนักงานขับรถห้ามเข้าพื้นที่ศูนย์กระจายสินค้า
- คู่ค้าทำการฉีดพ่นฆ่าเชื้อบนบรรจุภัณฑ์สินค้าก่อนจัดส่ง
มาตรการในสำนักงานใหญ่
- ให้เพื่อนพนักงานสำนักงานใหญ่ปฏิบัติหน้าที่จากที่บ้าน (work from home) ตั้งแต่วันที่ 12-30 เมษายน พ.ศ. 2564 และอาจพิจารณาขยายระยะเวลาตามสถานการณ์การติดเชื้อ